ภาษาไทย

คำซ้อน
คำซ้อน    คือคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่  2  คำขึ้นไปซึ่งมีความหมายเหมือนกันหรือไปในทำนองเดียวกันหรือมีความหมายต่างกันในลักษณะตรงข้าม มารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมา
คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม  กริยา  หรือวิเศษณ์ก็ได้  คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น

นามกับนาม   เช่น เนื้อตัว  เรือแพ  ลูกหลาน  เสื่อสาด  หูตา   
กริยากับกริยา   เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน
วิเศษณ์กับวิเศษณ์   เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน  ซีดเซียว  เด็ดขาด
คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้  อาจเป็นคำไทยกับคำไทย  คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น
คำไทยกับคำไทย   เช่น  ผักปลา  เลียบเคียง  อ่อนนุ่ม   อ้อนวอน
คำไทยกับคำเขมร   เช่น  แบบฉบับ  พงไพร  หัวสมอง  แจ่มจรัส
คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต   เช่น  เขตแดน โชคลาง  พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะ
คำเขมรกับคำเขมร   เช่น ขจัดขจาย  เฉลิมฉลอง
คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต   เช่น  สรงสนาน  ตรัสประภาษ  เสบียงอาหาร
คำมูลที่นำมาซ้อนกัน  ส่วนมากเป็นคำมูล  2  คำ  ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล  4  คำ หรือ  6คำ
คำมูล  2  คำ  เช่น ข้าวปลา  นิ่มนวล  ปากคอ  ฟ้าฝน  หน้าตา
คำมูล  4 คำ  อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง   กู้หนี้ยืมสิน  ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา  ต้อนรับขับสู้
คำมูล  6  คำ  มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น  คดในข้องดในกระดูก  จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
                                        คำซ้ำ
            คำซ้ำ  เกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่  โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน  มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป  อาจเน้นหนักขึ้น  เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น  ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
คำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้  มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้  บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้น
คำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้
      -  กริยาช่วย   เช่น   จะ   คง   ได้   อาจ
      -  บุพบท   เช่น   ของ   แห่ง   ด้วย   กับ
      -  สันธาน  เช่น   เมื่อ   หลังจาก   ตั้งแต่   และ   แต่   หรือ   จึง
 คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ  ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์   เช่น   หยิมๆ   หลัดๆ   ดิกๆ    ยองๆ  
 นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้   เป็น   เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง  เป็น  เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน  เป็น อิดๆ เอื้อนๆ
3.  นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน  เช่น     เปรี้ยวๆ เค็มๆ       นั่งๆ นอนๆ    เราๆ ท่านๆ
4.  คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม
    4.1  บอกพหูพจน์  คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้  เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว  เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล  หนุ่มๆ มากับสาวๆ
    4.2บอกความไม่เจาะจง  การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้
5.  บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น  พื้นๆ  (ธรรมดา)  กล้วยๆ  (ง่าย)  น้องๆ  (เกือบ, ใกล้, คล้าย)  อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว )  งูๆปลาๆ
6.  คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป  คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป  คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน  ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้  เช่น  เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้   เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ