วิทยาศาสตร์

ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้
1.1 ปาก เป็นอวัยวะส่วนแรงของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ริมฝีปากและลิ้นจะทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และลิ้นยังทำหน้าที่รับรสชาติอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายเพื่อให้อาหารอ่อนนุ่ม กลืนสะดวก นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำย่อยช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย
1.2 หลอดอาหาร เป็นท่อกลวงขนาดสั้น มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนปลายของหลอดอาหารเป็นกล้าเนื้อหูรูด ซึ่งสามารถบีบตัวให้หลอดอาหารปิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับสู่หลอดอาหารอีก หลอดอาหารไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น
1.3 ตับและตับอ่อน เป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน

 1.4 กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่  กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย



1.5 ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด
         1.6 ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดใหญ่ ส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่จะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่เหลืออยู่ในกากอาหาร ทำให้กากอาหารเป็นก้อนอุจจาระ นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังขับเมือกออกมาหล่อลื่น ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้




เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ฟันของเราจะบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง และอาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็ก อาหารต่างๆ ถูกย่อยที่ลำไส้เล็กเป็นจุดสุดท้าย และถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนกากอาหารที่เหลือจะถูกขับอออกมาทางทวารหนัก



ระบบหมุนเวียนเลือด

ระบบวงจรเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนำแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เกิดขึ้นกำจัดออกนอกร่างกาย ระบบวงจรเลือดประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด ซึ่งอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ ดังนี้

1.หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของระบบวงจรเลือด หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อพิเศษ ตั้งอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย มีรูปร่างคล้ายดอกบัวตูมมีขนากเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ ภายในหัวใจเป็นโพรงแบ่งเป็น 4 ห้อง คือ ห้องบนซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างซ้ายและห้องล่างขวา โดยระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างในด้านเดียวกัน จะมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่ปิดเปิดไม่ให้เลือดหัวใจไหลย้อยกลับได้

หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่ หัวใจคลายตัวก็จะสูบเลือดเข้า และขณะที่หัวใจบีบตัวก็เป็นการฉีดเลือดออกไป การเต้นของชีพจรมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เพราะขณะที่ออกกำลังกาย ร่างกายของคนเราต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น การสูบฉีดเลือดภายในร่างกายจึงสูงขึ้น เมือหัวใจต้องสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น ชีพจรจึงเต้นเร็วขึ้นด้วย


2หลอดเลือด มีอยู่ทั่วร่างกาย ประกอบด้วยหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่ถูกสูบฉีด ออกจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายในหลอดเลือดแดงมีเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนมาก 
หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจ ภายในหลอดเลือดคำมีเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก
                                                       
3เลือด เป็นของเหลวอยู่ในหลอดเลือด ประกอบด้วยของเหลว ที่เรียกว่า น้ำเลือดและเม็ดเลือน ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข่าสู่ร่างกาย และสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายของเรา


ระบบหายใจ
                           
ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
 3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด
                                               
 นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก


                                             


ระบบขับถ่าย


การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย  และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย  ไต  ตับ  และลำไส้  เป็นต้น

ไต  มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย  อยู่ด้านหลังของช่องท้อง 
       
ลำไส้ใหญ่  มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
โครงสร้างของระบบขับถ่าย 
            ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  ไตของคนมี  1  คู่  อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ  ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง 

การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด  และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย  คือ  อาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  และควรดื่มน้ำให้มาก