สุขศึกษาฯ

            ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์

1.      เพศ ปกติเพศหญิงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศชาย

2.      ต่อมต่าง ๆ ภายในร่างกายที่ผลิตสารต่างๆ อาจทำงานมากหรือน้อยต่างกันไป

3.      อาหาร การได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนทำให้เกิดการเจริญเติบโตช้า

4.      อาการและแสงแดด ถ้ามีอาการดีและได้รับแสงแดดบ้างจะทำให้เราแข็งแรง เจริญ

        เติบโตตาม ปกติ

5.      การบาดเจ็บและโรคภัยที่เป็นมาแต่เดิมถ้าป่วยมาแต่เด็กก็จะทำการเจริญเติบโตช้า

6.      การเรียนรู้ที่จะฝึกหัดหรือฝึกฝน โดยเฉพาะการเล่นกีฬาและการทำกิจกรรมต่าง ๆ 

        จะทำให้พัฒนา

        การของกล้ามเนื้อดี และทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเร็วขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะได้กล่าวใน

        ราย ละเอียดต่อไป


องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ
1.   พันธุกรรม (Heredity) คือ ลักษณะต่างๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจาก

บรรพ บุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่างๆ 

จากพ่อและ แม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม 

(Chromosome) สำหรับ มนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัว มีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่

ำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์ คือ เป็นตัวกำหนดเพศ 

รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น 

แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของมนุษย์เป็น

อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมี

พัฒนาการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรม จะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย

มากที่สุด
2.      วุฒิภาวะ (Maturation) เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น

ตามธรรม ชาติของบุคคล โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน 

การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติ

เมื่อถึงวัยที่สามารถจะ กระทำได้

3.    การเรียนรู้ (Learning) เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์ และการฝึกหัด หรือ

ความสามารถ


ทางทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็น

พื้นฐาน สำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความ

พร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษา

เรื่อง"ความพร้อม"

นักจิตวิทยาได้บ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็น

ว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะ

เวลาที่ เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำ

อะไรก็ตาม ไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้ง

สิ้น ตรงกันข้าม อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย 

เป็นต้น

ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรง 

ข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระ

ตุ้นการ แนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง 

โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการ

เรียนรู้และการปรับ ตัว เป็นอย่างมาก

4.      สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่ง

ที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้

สร้างขึ้น เช่น ระบบ ครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น